RSS

Autoethnography อีกครั้ง


ได้รับการบรรยายจาก ดร. เบญจา ยอดดำเนิน-แอตติกจ์

ที่ตอนแรกเดาไม่ถูกว่าจะเป็นอย่างไร อ.เข้ามาพร้อมกับความเป็นผู้ใหญ่ใจดี(มาก)

และเป็นคนมีอารมณ์ขัน ที่ทำให้การบรรยายในวันนี้

เต็มไปด้วยเนื้อหาสลับกับเสียงหัวเราะของอาจารย์

อ.เริ่มต้นด้วยการบอกว่าคุณสมบัติของผู้วิจัยที่ดีข้อแรกคือ

ความเป็นผู้ที่สนใจ และมีใจ ในการศึกษาวิจัยเรื่องนั้นจริงๆ ที่เหลือเราสามารถนำมาฝึกหัดได้ทั้งสิ้น

นักวิจัย ที่ต้องการคือ แค่คนที่อ่านออกเขียนได้ และมีใจรักในงานที่ศึกษานั้นจริงๆ

Autoe คือ ตนเอง = ผลผลิตของวัฒนธรรม หรือของสังคม (field) นั้นๆ

(ประสบการณ์ของผู้วิจัยสะท้อนให้เห็นสังคมรอบๆ ตัวของผู้วิจัยอย่างไร)

และที่ อัตชีวประวัติ (Biography) ทั่วๆ ไป ต่างจาก Autoe

เพราะขาดการวิเคราะห์จากเหตุการณ์นั้นๆ

ยกตัวอย่างภาพยนตร์ที่น่าเอามาดูคือเรื่อง Forrest Gump

เพราะเป็นประวัติชีวิตพร้อมทั้งมีการวิเคราะห์ด้วย

Ethnography คนที่ให้ข้อมูลเป็นคนใน ผู้วิจัยเป็นคนนอก

เพราะแต่เดิมที่เรามองว่าหากเราให้คนในบ้านทำวิจัยเรื่องในบ้านจะไม่ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง

แต่ในระยะหลังที่เราพบคือ ถึงอย่างไรคนในบ้านย่อมรู้เรื่องในบ้านดีที่สุด

และเพื่อทำการตรวจสอบให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากที่สุด

เราจึงมีระบบการตรวจสอบ เรียกว่า การตรวจสอบสามเส้า (3 มิติ triangulation)

1. แนวคิด / ทฤษฎี ควรมีอย่างน้อย 2/3 แนวคิด / ทฤษฎี

แต่ที่สำคัญ เราต้องไม่เริ่มต้นจากทฤษฎี และไม่ได้ทำการวิจัยเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน

อ.แนะนำว่าเวลาเก็บข้อมูลก็ควรจะทยอยวิเคราะห์ไปเรื่อย เพื่อจะได้เห็นว่าเราต้องการข้อมูลตรงไหนเพิ่มเติม และตามไปเก็บต่อได้

2. แหล่งข้อมูล ควรมีอย่างน้อย 2/3 แหล่ง

3. วิธีการเก็บข้อมูล ควรจะมีมากกว่า 1 วิธี

และสิ่งที่ Autoe และ Ethno จะขาดไมได้คือ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (participant observation) ที่เหลือก็คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept interview) และการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม (Focus Group)

4. ทำงานเป็นทีมดีกว่าเยอะ (ถ้าทำวิทยานิพนธ์ก็อาจต้องทำคนเดียวแต่ถ้าคนที่เรียนด้วยกันตั้งเป้นกลุ่มกัลยาณมิตรกันได้ก็ช่วยได้มากเลย

5. ตรวจสอบข้อมูลจากผู้รู้ แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ ผู้ที่อยู่ใน field นั้นๆ และผู้รู้ที่อยู่ภายนอก field แต่รู้ในเรื่องที่เราทำ

อ.เน้นว่าผู้รู้ค่ะ เพราะเรามักจะหลงอยู่กับผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ผู้ที่มีดรีกรี โดยหลงลืม และมองข้ามผู้ที่มีประสบการณ์ตรงกับเรื่องนั้นๆ ไป

อ.แนะอีกว่า อย่าเป็นดอกเตอร์ที่เอาแต่โคลนนิ่งความรู้ต่างๆ มา แต่เราควรเรียนรู้ที่จะเติบโตและเพิ่มเติม เราสามารถที่จะเดินออกนอกกรอบความรู้เดิมๆ ได้ เพียงแต่เราตอบคำถามได้ว่าทำไมเราจึงได้ความรู้นั้นๆ มา เราไม่ใช่แค่ทำตามอย่างที่คนอื่นทำได้ แต่เราต้องทำสิ่งที่เราทำได้จากตัวเราเองด้วย และอย่าให้ความรู้สึกแค่ว่าเราอยากจบ และอยากได้รับการยอมรับ (Recognize) มาปิดกั้นงานวิจัยของเรา

และสร้างพื้นที่ของการมีกัลยาณมิตร (เพื่อนวิจัย อาจารย์ และที่ปรึกษา ฯลฯ) ที่ดีที่จะคอยช่วยสนับสนุนเรา

ประสบการณ์ที่เราพบมาด้วยตัวเราเอง จะช่วยเราไว้ได้อย่างมากมาย











จากแผนภาพที่ อ.เอาอธิบายประกอบ ผู้ให้ข้อมูล อยู่ในความหมายระดับที่ 1
และผู้วิจัยต้องค้นหาให้เจอในความหมายระดับที่ 2
และเมื่อเรานำเอา แนวคิด / ทฤษฎีต่างๆมาวิเคราะห์ก็จะได้ ในความหมายระดับที่ 3
ถ้าหากกลายมาเป็นความหมายระดับที่ 4 ได้ คือ การที่เรานำมันมาสร้างเป็นทฤษฎีใหม่ๆได้
นำมาสู่การเป็นงานวิจัยแบบ Grounded theory ต่อไป

คือการที่เรานำเหตุการณ์ที่เราพบมาวิเคราะห์ให้เห็นเหตุผลเบื้องหลัง และนำมาสรุป(Generalize) ได้เป็น Concept ของเหตุการณ์นั้นๆ
และนำไปอธิบายเหตุการณ์อื่นๆ หรือนำไปใช้กับพื้นที่อื่นๆต่อไป

Social Marketing = concept transfer

Ethno ที่ต่างจาก Autoe













การทำงานวิจัยแบบนี้สิ่งที่สำคัญคือ การทำงานดัวยใจ การตรวจสอบสามเส้า และที่สำคัญคือการมีคนที่มีความจริงใจ ที่คอยช่วยตั้งคำถาม (Peer check) เพื่อให้ผู้วิจัยได้เข้าไปใคร่ครวญ และขัดเกลาความคิดของตนในประเด็นที่ศึกษา เพื่อให้ได้เข้าใจชัดเจนขึ้น

การเปิดรับคำถามจากผู้คนที่มีความแตกต่างหลากหลาย และมีความจริงใจ จะนำมาสู่คำถามที่ดีที่จะช่วยให้ผู้วิจัยได้ต่อยอดหรือยกระดับความคิดของตน


จากข้อซักถามที่มีต่อ อ.ว่า ผู้ที่จะสามารถจะศึกษาเรื่องราวของตนเองผ่านแบบ Autoe ได้นั้นต้องเป็นคนอย่างไร และต้องเป็นคนสำคัญในสังคม หรือคนที่เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากสังคมมากแค่ไหน

อ.กล่าวว่า การศึกษาประสบการณ์ในอันที่ว่า เขาเป็นผลผลิตจากวัฒนธรรมนั้นๆ อย่างไรนั้น

ประสบการณ์แต่ละคนเป็นสิ่งมีค่า นักศึกษาสามารถศึกษาเรื่องราวของตนเองได้

เพราะความเป็นนักศึกษาก็มีศักดิ์ศรีในตัวเองอยู่แล้ว


จริงๆ อ.ท่านพูดเรื่อง Grounded theory ต่อแต่ว่าอยู่ฟังไม่ครบจึงขอนำเสนอเฉพาะเรื่องที่ฟังจนจบ

สรุปได้ว่าการบรรยายของอ.เบญจา วันนี้ทำให้ได้รับแรงบันดาลใจในการทำ Thesis ต่ออย่างมากมาย การที่เรามีใจที่สนใจเรื่องที่เราอยากศึกษานั้นอย่างแท้จริง จนเราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมนั้นๆ ศึกษาอย่างดิ่งลึก และมีกัลยาณมิตรที่เข้าใจเรื่องที่เราสนใจ แม้ว่าท่านเหล่านั้นจะรู้เรื่องที่เราศึกษาหรือไม่ก็ตาม ทุกความเห็นและทุกคำถามต่างช่วยให้เราได้ขัดเกลาและช่วยให้เราได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นทั้งนั้น

เราสัมผัสได้ถึงการมีชีวิตที่ดิ่งลึกกับการเป็นนักวิจัยของอ.ว่า มันได้ทำให้โลกของอ.เปิดกว้างและเข้าใจถึงความเป็นมนุษย์ที่ อ.ได้เรียนรู้และอยู่ร่วมมาตลอดระยะเวลาการทำงานของอ.
ที่ทำให้ อ.กล้าท้าทายด้วยความกล้าหาญที่เราจะสามารถเดินออกนอกเฟรม(กรอบ)การทำงาน เข้าถึงประสบการณ์ที่แท้ เพื่อได้สิ่งที่มันเหมาะสม และเป็นของจริง
นอกเหนือจากเรื่องที่ทฤษฏีบอกไว้เท่านั้น
อีกทั้ง อ.ยังเห็นในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร เป็นเพียงคนที่เราคิดว่าเขาเป็น ชาวบ้าน ที่เรามักจะมีแนวโน้มที่จะไม่ฟังเสียงของคนเหล่านี้ คนที่เป็น คนธรรมดา ในสายตาของคนทั่วไป มันหมายรวมถึงความเป็นมนุษย์ที่แท้ด้วย

และโลกนี้ก็สัมพันธ์กันมนุษย์ก็ต้องการเพื่อน มาร่วมเดินทาง ร่วมเฝ้ามอง ซักถาม จากหลายๆ มุมมองหลายๆ ความเห็น ด้วยเชื่อในความปรารถนาดีในใจที่มีต่อคำถาม(วิจัย)ในใจเรา และมีอยู่ในใจร่วมกัน ผู้วิจัยจึงควรมีเพื่อนที่เข้าใจร่วมทำงานไปด้วยกับ เพื่อเติมเต็มศักยภาพของกันและกัน อีกทั้งเป็นกำลังใจในการเรียนรู้บนโลกใบนี้ต่อไป

ขอบคุณค่าอาจารย์



และที่จะขาดไม่ได้ก็ต้องขอบคุณอ.แดง แห่งสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่เป็นเจ้าภาพจัดการอบรมครั้งนี้ให้ค่ะ ^^

1 ความคิดเห็น:

nui กล่าวว่า...

ขอบคุณมากๆ อันนี้มีประโยชน์สำหรับการปั้นแต่ง proposal แดกด่วนของเรามาก