RSS
ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่ภายใต้สภาวการณ์ใดก็ตาม
คนเราสามารถตัดสินใจเลือกได้ว่าตัวเขาจะเป็นอย่างไร
ทั้งในแง่ของความคิดและจิตใจ
เขาสามารถจะรักษาศักดิื์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ได้

ครั้งหนึ่งดอสโตเยฟกี้ กล่าวไว้ว่า
"มีสิ่งเดียวเท่านั้นที่ข้าพเจ้าหวั่นเกรง
สิ่งนั้นก็คือข้าพเจ้าหาได้มีคุณค่าคุ่ตวรกับความทุกข์ทรมานที่ได้รับไม่"

ถ้าหากชีวิตของคนเราจะมีความหมายอะไรแฝงอยู่ล่ะก็
ในความทุกข์ทรมานก็จะต้องมีความหมายอะไรสักอย่างด้วยเช่นกัน

ความทุกข์คือส่วนประกอบของชีวิตที่ไม่สามารถกำจัดลบล้างไ้ด้
เฉกเช่นเดียวกับชะตากรรมและความตาย
หากปราศจากความทุกข์และความตายแล้ว
ชีวิตของมนุษย์เราก็จะไม่มีวันสมบูรณ์ไปได้
-man's search for meaning-
มนุษย์มีความสามารถจะสงวนรักษาไว้ซึ่งอิสรภาพทางใจ
อันเป็นสิ่งที่หลงเหลืออยู่ สามารถสงวนรักษาอิสระทางความคิดเอาไว้ได้
แม้จะอยู่ท่ามกลางเงื่อนไขเลวร้าย
และต้องพบกับสภาพกดดันทางกายและใจก็ตาม...

มนุษย์อาจถูกพรากทุกสิ่งทุกอย่างไปจากตนเองได้
ยกเว้นเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น นั่นคืออิสรภาพส่วนสุดท้ายของมนุษย์

เป็นอิสรภาพที่จะเลือกทัศนคติที่เราจะมีต่อสภาพแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
..เป็นอิสรภาพที่จะเลือกวิถีทางของเราเอง...

-man's search for meaning-

ดังนั้นเราจะมีบุคลิกภาพอย่างใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับ
สิ่งที่เราเลือกภายในจิตใจ
"ชีวิต" จึงไม่ได้หมายถึงสิ่งที่คลุมเครือ
แต่เป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม มีัตัวตนจริง
ดังเช่นที่ภารกิจของชีวิตเป็นรูปธรรมและเป็นจริงอย่างมาก
ภารกิจเหล่านี้เป็นตัวกำหนดรูปแบบชะตากรรมของมนุษย์
ซึ่งมีลักษณะแตกต่าง และเป็นเอกลักษณ์ตามแต่ละบุคคล

-man's search for meaning-
คำพูดของปราชย์นิตช์เชมีว่า
"บุคคลผู้ซึ่งมีเหตุผลจะมีชีวิตอยู่
ย่อมสามารถอดทนต่อสภาพที่เกิดขึ้น
ไม่ว่าจะมาในรูปแบบใดได้เกือบทุกอย่าง"

-man's search for meaning-
ประโยคที่ดอสโตเยฟสกีพูดไว้ว่า
"มนุษย์คือสัตว์โลกที่สามารถทำตัวให้คุ้นเคยกับอะไรก็ได้"
นั่นจริงแค่ไหนกันนะ

"ถูกแล้วมนุษย์สามารถปรับตัวให้คุ้นเคยกับอะไรก็ได้ทั้งนั้น
แต่อย่าถามเชียวนะว่าปรับตัวได้ยังไง"
- man's search for meaning-
ความกล้า คือ การตัดสินใจที่จะทำบางอย่างแม้จะมีความกลัวอยู่
ความกล้าคือการก้าวข้ามแรงต้านของความกลัวออกไปสู่โลกที่เราไม่รู้จัก
ออกไปสู่อนาคต
- นายแพทย์เอ็ม.สก๊อต เปค-
มีบางคนรู้สึกว่าปัญหาของโลกนั้นบีบคั้นยิ่ง
ดังนั้นภาวรกิจทางสังคมและการเมืองจึงจำเป็นต้องมาก่อน
พัฒนาการของปัจเจกชน...

วิธีคิดเช่นนี้เองที่ถือว่าความผิดปกติทางใจ
และความก้าวร้าวของปัจเจกชนเป็นผลมาจากสังคมที่ป่วยไข้..
ผู้คนเหล่านั้นจึงพยายามใช้ความผิดปกติและความก้าวร้าวเหล่านั้น
เพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น...

ถ้าเราพยายามที่จะแก้ไขปัญหาสังคมโดยไม่ได้เอาชนะความสับสน
และความก้าวร้าวในจิตใจของเราเองแล้ว
เมื่อนั้นความพยายามทั้งมวลแทนที่จะช่วยแก้ปัญหา
ก็กลับจะเสริมปัญหาพื้นฐานให้หนักขึ้น

- ชัมบาลา 148 -